120 views
ความเป็นมาของขนมไทย ที่มาของคำว่าขนม
ขนมไทย เป็นของหวานที่ทำและรับประทานกันในอาณาจักรไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ
สำหรับ “เข้าหนม” นั้น พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณได้ทรงตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า “หนม” เพี้ยนมาจาก “ข้าวหนม” เนื่องจาก “หนม” นั้นแปลว่าหวาน แต่กลับไม่ปรากฏความหมายของ”ขนม” ในพจนานุกรมไทย มีเพียงบอกไว้ว่าทางเหนือเรียกขนมว่า “เข้าหนม” แต่ถึงอย่างไรก็ไม่พบความหมายของคำว่า “หนม” ในฐานะคำท้องถิ่นภาคเหนือเมื่ออยู่โดด ๆ ในพจนานุกรมเช่นกัน เข้าหนม แปลว่า ข้าวหวาน เรียกสั้นๆ เร็วๆ ก็กลายเป็น ขนม ไป (คำว่า เข้าเขียนตามแบบโบราณ ในปัจจุบันเขียนว่า ข้าว)
ก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อย คำว่า “ขนม” อาจมาจากคำในภาษาเขมรว่า “หนม” ที่หมายถึงอาหารที่ทำมาจากแป้ง เมื่อลองพิจารณาดูแล้วพบว่าขนมส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากแป้งทั้งนั้น โดยมีน้ำตาลและกะทิเป็นส่วนผสม ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า “ขนม” เพี้ยนมาจาก “ขนม” ในภาษาเขมรก็เป็นได้ ไม่ว่าขนมจะมีรากศัพท์มาจากคำใดหรือภาษาใด ขนมก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมไทยด้วยฐานะของขนมไทยอย่างเต็มภาคภูมิ และคนไทยเองก็ได้ชื่อว่าเป็นชนชาติหนึ่งที่ชอบกินขนมเป็นชีวิตจิตใจ
หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนมไทยกับคนไทยก็คือวรรณคดีมรดกสุโขทัยเรื่องไตรภูมิพระร่วง ซึ่งกล่าวถึงขนมต้มที่เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งไว้ คำว่า ขนม มีใช้มาหลายร้อยปียากจะสันนิฐานแน่นอนได้ เช่นเดียวกับไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่า “ขนมไทย” เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยใดเป็นครั้งแรก แต่ตามประวัติศาสตร์ไทยมีหลักฐานตอนหนึ่งว่า มีการจารึกชื่อขนมในแท่งศิลาจารึก เป็นการจารึกแบบลายแทงสมัยโบราณ ขนมที่ปรากฏคือ “ไข่กบ นกปล่อย บัวลอย อ้ายตื้อ” ถามผู้ใหญ่ดูถึงได้รู้ว่า ไข่กบ หมายถึง เม็ดแมงลัก นกปล่อย หมายถึง ลอดช่อง บัวลอย หมายถึง ข้าวตอก อ้ายตื้อ หมายถึง ข้าวเหนียว ขนมทั้งสี่ใช้น้ำกระสายอย่างเดียวกันคือ “น้ำกะทิ” โดยใช้ถ้วยใส่ขนม ซึ่งเราเรียกการเลี้ยงขนม 4 อย่างนี้ว่า “ประเพณี 4 ถ้วย”
ขนมไทยเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในสมัยอยุธยา ดังปรากฏข้อความในจดหมายเหตุหลายฉบับ บางฉบับกล่าวถึง “ย่านป่าขนม” หรือตลาดขนม บางฉบับกล่าวถึง “บ้านหม้อ” ที่มีการปั้นหม้อ และรวมไปถึงกระทะ ขนมเบื้อง เตาและรังขนมครก แสดงให้เห็นว่าขนมครกและขนมเบื้องนั้น คงจะแพร่หลายมากจนถึงขนาดมีการปั้นเตาและกระทะขาย บางฉบับกล่าวถึงขนมชะมด ขนมกงเกวียนหรือขนมกง ขนมครก ขนมเบื้อง ขนมลอดช่อง
ยุคทองของขนมไทย
ถือได้ว่าเป็นยุคทองของการทำขนมไทย เมื่อสตรีชาวโปรตุเกสเชื้อสายญี่ปุ่นนามว่า “มารี กีมาร์” ผู้เป็นภรรยาเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ หรือบรรดาศักดิ์ว่า “ท้าวทองกีบม้า” เข้ารับราชการเป็นต้นเครื่องขนม ของหวานในวัง ท่านได้นำไข่ และ น้ำตาลทราย มาเป็นส่วนผสมสำคัญในขนมไทยและท่านได้ดัดแปลงสูตรขนมต่างๆ เช่น ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ซึ่งได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันนี้
ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม
ขนมไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมคือ แป้ง น้ำตาล กะทิ เท่านั้น ส่วนขนมที่ใช้ไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน นั้น มารี กีมาร์ เดอ ปีนา (ท้าวทองกีบม้า)หญิงสาวชาวโปรตุเกส เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์ เขียนโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในหนังสือเล่มนี้ มีรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระได้แก่ ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ขนมลืมกลืน ข้วเหนียวแก้ว วุ้นผลมะปราง
ในสมัยต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย ทั้งขายอยู่กับที่ แบกกระบุง หาบเร่ และมีการปรับปรุงการบรรจุหีบห่อไปตามยุคสมัย เช่นในปัจจุบันมีการบรรจุในกล่องโฟมแทนการห่อด้วยใบตองในอดีต ส่งมอบสิ่งดี ๆ ด้วยของขวัญแบบไทย ๆ ให้กับคนที่เรารักตั้งแต่ต้นปีด้วยขนมไทยความหมายมงคล ๙ อย่าง ที่ไม่ว่าใครได้รับไปจะต้องประทับใจอย่างแน่นอน เพราะขึ้นชื่อว่าขนมไทยแล้ว แต่ละเมนูนั้นล้วนมีความงดงาม วิจิตร ละเอียดอ่อน พิถีพิถันในทุกขั้นตอนการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงวิธีการทำ มีรูปลักษณ์โดดเด่นและรสชาติที่อร่อย หอมกลิ่นพืชพรรณจากธรรมชาติ กลิ่นอบควันเทียน อีกทั้งขนมแต่ละชนิดยังมีชื่อเรียกที่บ่งบอกถึงคุณค่าและแฝงไปด้วยความหมาย อันเป็นสิริมงคลตามความเชื่อของคนไทยสมัยก่อน
ส่วนขนมไทยมงคลทั้ง ๖ อย่างนี้จะมีชื่อว่าอะไรและมีความหมายว่าอย่างไรบ้างนั้น มาทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กันเลย
ขนมทองหยิบ
ขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ลักษณะคล้ายดอกไม้สีทอง ทำจากไข่แดงตีจนฟู แล้วนำไปหยอดลงในน้ำเชื่อมเดือด เมื่อสุกแล้วนำมาใส่ถ้วย จับจีบอย่างประณีตให้เหมือนกลีบดอกไม้ สื่อความหมายถึงความมั่งคั่งร่ำรวย ทำการงานสิ่งใดก็จะร่ำรวยมีเงินมีทองใช้ไม่ขาดมือ หยิบเงินหยิบทองสมดังชื่อทองหยิบ
ขนมทองหยอด
ขนมไทยที่มีลักษณะคล้ายหยดน้ำ ทำจากไข่แดงสีเหลือง แล้วนำไปหยอดลงในน้ำเชื่อมเดือดเช่นเดียวกันกับขนมทองหยิบ มีความหมายสื่อถึงทอง จึงมักนำมาใช้ประกอบในพิธีมงคลต่าง ๆ หรือมอบเป็นของขวัญในโอกาสสำคัญ ๆ แทนคำอวยพรให้ร่ำรวยมีเงินมีทองใช้จ่ายอย่างไม่รู้หมดสิ้น ซึ่งการให้ขนมทองหยอดก็เปรียบเสมือนให้ทองคำแก่กันนั่นเอง
ขนมฝอยทอง
ขนมไทยที่ทำจากไข่แดงสีเหลือง มีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ วางแบบทบกันเป็นแพ มักนำมาใช้ในงานมงคลต่าง ๆ โดยเฉพาะงานแต่งงาน ซึ่งขั้นตอนการทำจะต้องทำเป็นเส้นยาว ๆ เพื่อสื่อความหมายถึงการครองรักครองเรือนที่ยาวนาน หรือการอวยพรให้มีชีวิตที่ยืนยาวเหมือนเส้นของฝอยทอง
ขนมเม็ดขนุน
ขนมไทยอีกหนึ่งในขนมตระกูลทอง เพราะทำมาจากไข่แดงที่ให้สีเหลืองทอง รูปร่างลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุนสอดไส้ด้านในด้วยถั่วเขียวบดละเอียด รสหวานมัน เชื่อกันว่าชื่อของขนมเม็ดขนุนนี้เองจะช่วยเสริมความเป็นสิริมงคล ให้มีคนคอยสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการดำเนินชีวิต หน้าที่การงาน หรือกิจการต่าง ๆ
ขนมทองเอก
ขนมไทยตระกูลทอง ที่เพิ่มความพิเศษกว่าขนมทองชนิดอื่นด้วยการติดทองคำเปลวด้านบนของขนม โดยคำว่าเอกนั้น สื่อความหมายถึงการเป็นที่หนึ่ง ความก้าวหน้าทางหน้าที่การงาน การได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง จึงนิยมใช้ขนมทองเอกประกอบพิธีมงคลสำคัญต่าง ๆ หรือใช้มอบเป็นของขวัญการฉลองความสำเร็จ ซึ่งเปรียบเสมือนคำอวยพรให้เป็นที่หนึ่งสมกับชื่อของขนม
ขนมดาราทอง
ขนมไทยที่มีขั้นตอนการทำที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน นิยมทำกันเพื่อใช้ประกอบพิธีการที่สำคัญจริง ๆ แต่เดิมสูตรไทยโบราณจะไม่มีส่วนผสมของไข่ มีเพียงแป้ง กะทิ และน้ำตาล ปัจจุบันหาทานได้ยากมาก รูปลักษณ์จะเป็นสีเขียว มีโรยแป้งทอด ต่อมาได้รับวัฒนธรรมตะวันตก ประกวดในงานฉลองปีใหม่ในสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม คนทั่วไปรู้จักในชื่อว่า ‘ดาราทอง’ หรือ ‘ทองเอกกระจัง’ มีส่วนผสมของไข่ เมล็ดแตงโม รวมถึงแผ่นทองคำเปลวที่นำมาประดับตกแต่ง คล้ายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เป็นรูปดาว มีความคล้ายคลึงกับมงกุฏของฝรั่ง ทำให้รู้จักกันในนามของขนม ‘จ่ามงกุฏ’ ค่อนข้างมากกว่าดาราทองหรือทองเอกกระจัง หรือเรียกได้ว่าเป็นจ่ามงกุฏยุคปัจจุบันนั่นเอง สำหรับคำว่าจ่ามงกุฎนั้น หมายถึง ความสง่างาม การเป็นหัวหน้าสูงสุด หรือความมีเกียรติยศในตำแหน่งสูงสุด จึงนิยมใช้เป็นของขวัญในงานเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง เพื่อแสดงความยินดีและอวยพรให้ผู้รับมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานยิ่ง ๆ ขึ้นไป
อ่านเพิ่มเติม มารู้จัก Kaidee กันดีกว่า nekopost จอมมาร ปีศาจ การจับคอร์ดกีต้าร์ แมนเชสเตอร์ TeamViewer 15 What is MSN Messenge เกม Five M คืออะไร ? วิธีการเติมเงินเกมฟีฟาย 12 ข้อที่ชาวเน็ตควรรู้ Jokergame Joker Gamimg pgslot
อัพเดทล่าสุด : 28 พฤษภาคม 2021